ไฟฟ้าสถิตวัดอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร
ไฟฟ้าสถิตวัดอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร
1. ไฟฟ้าสถิตวัดอย่างไร ?
ตามที่ทราบมาแล้วว่า ไฟฟ้าสถิต เกิดจากการเสียดสีของวัสดุสองชนิดและประจุไฟฟ้าก็ค้างที่พื้นผิววัสดุไม่สามราถถ่ายเทไปไหนได้ เราจึงเรียกว่าไฟฟ้าสถิตย์ โดยทั่วไปการวัดว่ามีไฟฟ้าสถิตเราจะใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า field meter , ESD มิเตอร์, หรือ ไฟฟ้าสถิต มิเตอร์ เครื่องมือชนิดนี้จะบอก ค่าการวัด เป็น โวลท์ หรือ ค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้า เช่น เป็น 10 V , 100 V , 1000 V เป็นต้น วิธิการวัดก็โดยการใช้เครื่องมือนี้ จ่อไปที่ จุดที่ต้องการวัด โดยทั่วไประยะห่างจากเป้าหมายที่ต้องการวัดประมาณ 2.5 เซนติเมตร หรือ ประมาณ 1 นิ้ว
ยังมีการวัดอีก ไฟฟ้าสถิตอีกแบบหนึ่งที่ ไม่ได้เป็นการวัดโดยตรงแต่ เป็นการวัด ความต้านทานพื้นผิว หรือ เรียกว่า surface resistance meter การวัดประเภทนี้ จะเป็นการวัดว่า วัสดุนั้นๆ สามารถที่จะเป็นวัสดุที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตได้หรือไม่ การวัดแบบนี้เหมาะสำหรับ ผุ้ผลิตอุประกรณ์สำหรับป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ เช่น ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต เสื้อผ้าป้องกันไฟฟ้าสถิต กล่องใส่อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต แผ่นพลาสติกป้องกันไฟฟ้าสถิต แผ่นกระดาษป้องกันไฟฟ้าสถิต ฯลฯ ตามหลักการนำไฟฟ้า วัสดุจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. วัสดุตัวนำไฟฟ้า Conductive ค่าความต้านทานพื้นผิว หรือ surface resistance อยู่ในช่วง 1 x 10 5 ohms/square
2. วัสดุกึ่งตัวนำไฟฟ้า Dissipative เป็น ช่วงที่ใช้เป็น วัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิต ค่าความต้านทานพื้นผิว หรือ surface resistance อยู่ในช่วง 1 x 10 5 ohms/square but less than 1 x10 11 ohms/square.
3. วัสดุฉนวน Insulative ค่าความต้านทานพื้นผิว หรือ surface resistance มากกว่า 1 x 10 12 ohms/square
ดังนั้นการวัดด้วยวิธี วัดความตานทานพื้นผิวจะเป็นการบอกว่าวัสดุนั้นป้องกันไฟฟ้าสถิตได้หรือไม่ ถถ้าความตานทานตกอยู่ในช่วง น้อยกว่า 1 x10 11 ohms/square แสดงว่าเป็นวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ แต่ถ้ามากกว่า 1 x10 11 ohms/square แสดงว่าไม่เป็นวัสดุป้องกันไฟฟฟ้าสถิตย์
2. ใช้เครื่องมืออะไร
2.1 ถ้าต้องการวัดว่ามีไฟฟ้าสถิตหรือไม่ ก็ใช้ field meter , ESD มิเตอร์, หรือ ไฟฟ้าสถิตย์ มิเตอร์
2.2 ถ้าต้องการวัดว่าวัสดุนั้นป้องกันไฟฟ้าสถิตได้หรือไม่ ก็ใช้เครื่องมือวัดความต้านทานพื้นผิว หรือ surface resistance meter
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่